วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อ้างอิง

อ้างอิง

(15.มิ.ย.57)  http://hilight.kapook.com/

(15.มิ.ย.57) http://blog.eduzones.com/

(15.มิ.ย.57) http://blog.eduzones.com/

อุปกรณ์การเล่น

อุปกรณ์การเล่น

ไม้แบดมินตัน
       ไม้แบดมินตันมี 2 ประเภท คือประเภทไม้และโลหะ มีขนาดไม่เท่ากันแล้วแต่บุคคล และต้องขึงด้วยเอ็นตึง ไม้ไม่บิดเบี้ยว เมื่อเอมือกดแล้วเอ็นไม่หย่อน ในการเลื่อกซื้อไม้แบดมินตัน สามารถทดสอบได้คือ เอ้นขึงตึงหรือไม่โดยเอานิ้งดีด
หรือเอาเล็บกรีดเอ็นฟังเสียงเอาก็ได้


 

ลูกแบดมินตัน

  ลูกขนไก่ มีขนาดน้ำหนักระหว่าง 73-85 เกรน (4.73-5.50 กรัม) และต้องมีขนไก่ระหว่าง 14-16 ขน
ปักอยู่ที่หัวไม้ก๊อก มีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 2.5-2.8 เซนติเมตร ตั้งแต่ปลายสุดของขนไก่ถึงฐานไม้ก๊อก
มีความยาวระหว่าง 6.4-7 เซนติเมตร ขนไก่ต้องแผ่ที่ปลายเป็นวงกลมมีศูนย์กลางยาวระหว่าง 5.4-6.4 เซนติเมตร
มีด้ายหรือสิ่งอื่นๆผูกรัดแน่น ลุกขนไก่ที่เชื่อถือเป็นลุกที่มีความเร็วโดยถูกต้องนั้น ต่อเมื่อผู้เล่นที่มีกำลังตามปกติตีลูกพุ่งขึ้น
อย่างสุดแรงเกิด จากจุดที่อยู่บนเส้นเขตหลังของด้านหนึ่งเป็นมุมตั้งขึ้นและขนานกับเส้นข้าง ลูกนั้นจะตกลงห่าง
เส้นเขตหลังอีกด้านหนึ่งเข้ามาไม่ต่ำกว่า 1 ฟุตและไม่เกิน 2 ฟุต 6 นิ้ว



สนาม

1.  ประเภทคู่ ต้องทำแบบประเภท ก. ซึ่งมีความยาวตามที่ได้กำหนดไว้ในแบบนั้น และต้องทาเส้นด้วยสีดำ สีขาง หรือสีอื่นๆ ที่สามารถมองเห็นได้ง่ายและชัดเจนมีความกว้าง0.04 เมตรมนการทำเส้นสนาม ส่วนกว้าง ของเส้นกลางทั้ง 2 เส้น จะแบ่งออกเป็นส่วนเทาๆกัน ส่วนหนึ่งอยู่ในสนามส่งลูกทางขวา อีกส่วนอูย่ทางซ้าย ส่วนกว้างของเส้นส่งลูกยาวและเส้นส่งลูกสั้นจะต้องรวมกันได้ 3.96 เมตร ของสนามส่งลูกและเส้นกว้างของเส้นต่างๆ จะต้องรวมอยู่ในความกว้างยาวของสนามที่กำหนด
2.  ประเภทเดี่ยว ในที่ที่ไม่สามารถสร้างสนามประเภทคู่ได้ อาจเนื่องมาจากมีสิ่งกีดขวาง หรือเนื้อที่ไม่เพียงพอ อาจทำเป็นสนามเดียวได้ ดดยทำแบบ ข. เส้นหลังก็กลายเป็นเส้นส่งลูกยาวไปด้วย และเสาหรือวัสดุอื่นๆที่ใช้แทนเสา ดังที่กล่าวไว้ในกติกา ข้อ 2 จะต้องอญู่ที่เส้นเขตด้านข้างและเสาจะต้องอยู่ห่างพื้นสนาม 1.55  เมตร ตอนบน ของตาข่ายติดแถบสีขาวพับสองขนาดกว้าง 3 นิ้ว มีเชือก หรือลวดร้อยกลางตลอดแถบผ้านี้ และขึงตึงได้ ระดับหัวเสาทั้ง 2ข้าง




สนาม

สนามกีฬาแบดมินตัน













วิธีการเล่นกีฬาแบดมินตัน



วิธีการเล่นกีฬาแบดมินตัน

แบบ เดียว
  1.  การยืน ต้องรักษาจุดศูนย์กลางเพื่อเตรียมพร้อมที่จะรักษาพื้นที่ของสนามได้ทั่วถึงทุกตารางนิ้ว จุดศูนย์กลางของประเภทเดี่ยวอยู่ที่เส้นกลางที่ห่างจากเส้นส่งลูกสั้นมาหลังสนามประมาณ 3 ฟุตเศษ เมื่อผู้เล่นยืนคร่อมเส้นกลางจะทำให้ยืนค่อนไปข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อรักษาพื้นที่และจะได้ครอบคลุมสนามหน้าตาข่ายได้สมบรูณ์ขึ้น ซึ่งผู้เล่นไม่เพียงแต่จะวิ่งเข้ารับลูกหยอดได้ทันท่วงทีเท่านั้นยังจะต้องสามารถตีลูกในระดับสูงอีกด้วย จึงทำให้มุมการตีกว้างขึ้น ฉะนั้นโอกาสที่จะใช้ลูกหลอกล่อก็มีมากขึ้นจุดศูนย์กลางจะเป็นฐานทัพของการเล่นเดี่ยว ไม่ว่าผู้เล่นจะพาตัวไปตีลูกยังส่วนใดของสนาม เมื่อตีลูกตอบโต้ข้ามไปแล้ว จะต้องคืนสู่จุดศูนย์กลางในลักษณะเตรียมพร้อมซึ่งจะเป็นการแบ่งช่องว่างในแต่ละส่วนของสนามให้เท่าๆกัน

  2.  เป้าหมายในการตี ที่สำคัญๆมีอยู่ 4 มุมในสนาม จะเป็นการทำให้คู่แข่งขันออกจากจุดศูนย์กลาง และเปิดช่องว่างให้เรามากที่สุดเป้าหมายสูงสุดของมุมหลัง ถ้าผู้เล่นสามารถโยนลูกโด่งไปสู่เป้าหมายดังกล่าวนอกจากจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามถูกดึงไปตีลูกถึงหลังสนามแล้วยังเป็นเป้าหมายที่ปลอด ภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมซ้ายที่คู่ต่อสู้ต้องตีด้วยลูกหลังมือ ลูกที่โยนโด่งไปมาด้านหลังนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ถ้าคู่ต่อสู้หลักยังดีอยู่ก็ให้โยนลูกให้สูง เพื่อกันถูกคู่ต่อสู้ตะปบลูกถ้าคู่ต่อสู้เสียหลักก็ให้โยนลูกต่ำลงแรงและเร็วกว่าเดิมเพื่อตัดเวลาของลูกให้น้อยลง บังคับให้อีกฝ่ายตีลูกในเวลาจำกัด และไม่สามารถบังคับลูกให้เป็นไปตามวิถีที่ต้องการได้การตีลูกไปสู่เป้าหมายสองมุมหน้า ซึ่งใช้ลูกแตะหยอดหรือหยอดธรรมดา ลูกที่ย้อยข้ามจะต้องมีวิถีโค้งและปักหัวลงเมื่อลูกพ้นตาข่าย ถ้าลูกจะย้อยลงใกล้ตาข่ายก็จะเป็นการดึงให้คู่แข่งขันต้องเข้ามาตีลูกหรืองัดลูกทางด้านหน้าสุดของสนามซึ่งจะทำให้ลูกโด่งทำให้รับลูกสามารถตบลูกนี้ได้ หรือเลือกเล่นลูกอะไรก็ได้ถามถนัด

  3. จุดที่สำคัญ ๆ ในเกมส์ นักเล่นที่ฉลาดจะต้องเป็นผู้รู้เกมส์การเล่นของคู่ต่อสู้อย่างละเอียด โดยศึกษาดูสิ่งเหล่านี้ คือ(1) จุดเด่น ของคู่แข่งขันอย่างละเอียด โดยศึกษาการตีของคู่แข่งขันมาอย่างละเอียดก่อนศึกษาดูว่าคู่แข่งขันถนัดตีลูกใดมีกำลังและความสามารถเท่าใดก่อนที่จะทำการแข่งขันจงนำมาวางแผนก่อนเสมอ(2) จุดบกพร่อง ในการเล่นเกมส์ใดก็ตามการศึกษาดูจุดบกพร่องของคู่ต่อสู้ได้มากเท่าใดยิ่งเป็นการดี เช่น ดูลักษณะความถนัดของการตี การรับและการเคลื่อนไหวพยายามส่งลูกไปยังจุดนั้นให้มาก ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงเกมส์ที่คู่ต่อสู้ถนัดพร้อมทั้งใช้ชั้นเชิงดึงคู่ต่อสู้มาเล่นเกมส์ในเกมส์ของเราการทำเช่นนี้ย่อมได้เปรียบคู่ต่อสู้

  4.  ส่งลูกในการเล่นประเภทเดี่ยว การส่งลูกควรส่งลูกโด่งหลังสนามให้มากที่สุดประมาณ 90% ของลูกเดี่ยวทั้งหมดควรส่งลูกโด่งไปยังตำแหน่งต่างๆใกล้เส้นหลังโดยไม่ซ้ำที่กันลูกที่ดีคือลูกโด่งหลังที่ตกใกล้เส้นแบ่งกลางสนาม จะทำให้คู่ต่อสู้มีมุมในการโต้กลับน้อยและเป็นการบีบบังคับให้คู่ต่อสู้ออกจากตำแหน่งกลางสนามอีกประการหนึ่งคือจะทำให้คู่แข่งขันตีโต้กลับมากลางสนามไม่ว่าจะตีลูกใดก็ตามอีกประการที่สำคัญของการส่งลูก เราอย่าให้คู่ต่อสู้รู้ว่าเราจะส่งลูกอะไร ลักษณะไหนทั้งนี้อาจทำได้โดยการส่งลูกในลักษณะเดียวกันหมด

  5. การตอบโต้ (ลูกโยน) การตีลูกทุกครั้งต้องตีอย่างรวดเร็วและไม่ลังเล โดยตัดสินใจว่าเป้าหมายจะตีนั้นปลอดภัย และได้เปรียบคู่ต่อสู้เสมอในเกมส์เดี่ยว ส่วนใหญ่แล้วมักใช้ลูกโยนหลัง และการเล่นลูกมุมทั้ง 4 จะเป็นลูกที่ปลอดภัยที่สุด

  6. การตอบโต้ลูกต่ำและลูกหยอด ถ้าการส่งลูกต่ำเรารู้รับจะต้องรีบเคลื่อนตัวเข้าลุกและตีลูกข้างหน้าทันที อย่ารอให้ลูกวิ่งมาหาเราเอง เพื่อรักษาระดับการตีลูกให้สูงและใช้การตีลูกกดให้ต่ำถ้าเราเข้าช้าก็จะต้องเล่นลูกงัดใต้มือ ลูกจะข้ามไปให้อีกฝ่ายกดต่ำกลับมาเป้าหมายที่ปลอดภัยในการโต้ ตอบลูกส่งต่ำคือการแย็บที่เร็วหรืองัดโดยตรงไปสองมุมหลังหรือหยอดทิ้งไว้สองมุมหน้าให้ระวังการเย็บลูกที่คู่ต่อสู้อาจดักไว้ก่อนถ้าเป็นการแย็บให้โยนกลับไปหลังโดยเร็ว

  7. ลูกทแยงสนาม เป็นลูกที่ตีโต้ได้ผลลูกหนึ่งโดยเฉพาะใช้สลับกับการเล่นลูกครึ่งตบครึ่งตัดทแยงสนามจะเป็นการเพิ่มในการรุกโจมตีได้มากขึ้นบางครั้งถ้าเราเห็นคู่แข่งขันออกจากจุดเตรียม พร้อมอย่างผลีผลามก็จะยิ่งเปิดโอกาสให้เราเล่นลูกย้อนรอยคู่ต่อสู้ได้แต่การตีลูกอย่าตีซ้ำจนฝ่ายตรงข้ามจับทางถูกจะเป็นอันตรายแก่เราโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกหยอดทแยงนั้น อย่าทำซ้ำ ๆ จนคู่ต่อสู้ รู้ทางเพราะลูกจะถูกตบไปทางมุมหลังการเล่นลูกงัดจากหน้าตาข่ายไปทางหลังสนามจะต้องโด่งและดึงแดนหลังจริง ๆ เพราะถ้าไม่โด่งจริงแล้วจะถูกคู่ต่อสู้ดักตีลูกด้วยลูกตบทแยงไปอีกมุมทำให้เราต้องเพรี่ยงพร้ำเช่นกัน

  8. ลูกตบ ลูกที่จะทำให้คู่ต่อสู้รับยากคือลูกตบที่พุ่งขนานเส้นตั้งเพราะเป็นการตบลูกที่มีวิถีตรงและมีระยะทางวิ่งสั้นลูกตบจะต้องมีวิถีความยาวสั้นไม่เท่ากันคือตบยาวบ้างสั้นบ้างเพื่อทำให้คู่ต่อสู้ลังเลในการตั้งรับจะทำให้ลูกโยนข้ามมาไม่แน่นอนเราก็จะดักขึ้นตีโดยเตรียมหาจังหวะชูไม้แบดมินตันไว้ตบลูกซ้ำสองถ้าคู่ต่อสู้หยอดข้ามมาให้เรา เราจะต้องเคลื่อนเข้าหาลูกโดยเร็ว และตีลูกขณะอยู่สูงสุด อย่าตีลูกตกต่ำหรือตีลูกใต้มือโดยไม่จำเป็นในการเล่นเกมส์เดี่ยวลูกตบมีการเล่นพอ ๆ กันกับประเภทคู่ แต่ลูกที่คู่ต่อสู้โยนข้ามมาไม่ถึงหลัง (เศษสามส่วนสี่) ของสนามถือว่าสั้นผู้เล่นควรใช้ลูกตบเป็นส่วนใหญ่สลับกับลูกแตะหยอดหรือจี้โด่งมุมหลังเป็นครั้งคราว จะทำให้คู่แข่งขันเกิดความกังวลใจช่วยให้เราตีลูกอื่นได้สบายขึ้นแต่ลูกตบนี้ไม่ควรใช้บ่อยถ้าคู่แข่งขันรับได้ก็จะทำให้เราเปลืองแรงโดยใช่เหตุ ควรเล่นลูกอื่นหลอกล่อจนคู่แข่งขันเสียหลักก่อนแล้วจึงค่อยตบการตั้งรับลูกตบให้ยืนค่อนไปทางด้านตาข่ายเล็กน้อยห่างจากเส้นส่งสั้นประ มาณ 3 ฟุต จะทำให้ผู้รับรับลูกในระดับสูงได้เป็นการลดช่องว่างของสนามให้แคบลงการกำหนดจุดตั้งรับดังกล่าวนี้ อาจทำได้ผู้รับยืนยันในตอนแรก เพราะจะต้องคอยรับลูกตบในระยะที่ใกล้กว่าเดิมเมื่อฝึกจนชินแล้วจะพบว่าการรับลูกตบ ณ จุดดังกล่าวจำทำให้ได้เปรียบคู้ต่อสู้เป็นอย่างมากนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการนำเอาวิธีการต่างๆต่อไปนี้มาใช้ในการเล่นให้ดีขึ้น คือ(1) การพลางหน้าไม้แบดมินตัน ไม่ให้คู่ต่อสู้รู้ว่าเราจะตีลูกอะไร(2) การคาดการณ์ล่วงหน้า ว่าคู่ต่อสู้จะตีลูกอะไรเราจะดักตีด้วยลูกอะไรโดยดูจากหน้าไม้ ลักษณะท่าทางหรือเดาเหตุการณ์เอา(3) ลูกที่ใช้ตีมากในการเล่นเดี่ยวมีเพียง 3 ลูก คือ ลูกโด่งหลัง ลูกตบ และลูกหยอดจึงควรฝึกให้แม่นยำและนำมาใช้ให้มาก จะทำให้ผู้แข่งขันของเราต้องวิ่งอยู่ตลอดเวลา


แบบ  คู่

          1.  เมื่อเริ่มเล่นแต่ละครั้ง ฝ่ายที่ได้สิทธิ์ส่งลูกจะต้องเริ่มส่งลูกจากสนามส่งลูกทางขวามือ
        2.  ผู้รับลูกเท่านั้นเป็นผู้ตีลูกกลับไป ถ้าลูกถูกตัวหรือคู่ขาของผู้รับลูกตีกลับไป ผู้ส่งได้หนึ่งแต้ม
        3.  หลังจากที่รับลูกแล้ว ผู้เล่นของฝ่ายส่งลูกตีกลับไป และอีกฝ่ายก็ตีกลับมาทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าลูกไม่                 อยู่ในการเล่น
               3.1  หลังจากที่รับลูกที่ส่งมาแล้วผู้สามารถตีโต้จกที่ไหนๆก็ได้ภายในสนามของตนโดยมีตาข่ายกั้น
       4.  ถ้าฝ่ายรับทำลูกเสีย ฝ่ายส่งได้หนึ่งแต้ม และผู้ส่งยังคงได้ส่งลูกอีก
               4.1  ถ้าฝ่ายส่งลูกทำลูกเสียผู้ส่งลูกหมดสิทธิ์ในการส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้แต้ม
       5.  ผู้เล่นที่มีสิทธิ์ส่งลูกในตอนเริ่มต้นของแต่ละเกมจะส่งลูกหรือรับลูกในสนามส่งลูกทางขวามือ เมื่อผู้เล่น                  ฝ่ายนั้นไม่ได้แต้มในเกมนั้นเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกทางซ้ายมือ เมื่อแต้มเป็นเลขคี่
             5.1  ผู้เล่นที่เป็นผู้รับลูกในตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม จะรับลูกหรือส่งลูกในสนามส่งลูกทางขวามือ เมื่อผู้                เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้แต้มหรือ แต้มเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกทางซ้ายมือเมื่อแต้มเป็นเลขคี่
             5.2  คู่ขาของผู้เล่นต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันในทางตรงข้าม
       6.  การส่งลูกทุกครั้ง จะต้องส่งจากสนามส่งลูกทแยงมุมตรงข้าม ยกเว้นตามที่ได้ระบุไว้ในกติกาข้อ 14,16
      7.  สิทธิ์การส่งลูกผ่านติดต่อกันจากผู้ส่งคนแรกของแต่ละเกมไปยังผู้รับลูกคนแรกในเกมนั้น และจากผู้เล่น                คนยั้ยไปยังคู่ขาและแล้วต่อไปยังผู้เล่นคนหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม
      8.  ห้ามมิให้ผู้เล่นส่งลูกหรือรับลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่งและผู้รับ
     9.  ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของฝ่ายชนะจะเป็นผู้ส่งลฤูกด่อนก็ได้และผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของฝ่ายแพ้จะเป็นผู้รับ              ก็ได้
UploadImage

กฎกติกา

กฎกติกา

1.สนามและอุปกรณ์สนาม
                1.1 สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยเส้นกว้างขนาด  40 มิลลิเมตร
                1.2 เส้นทุกเส้นต้องเด่นชัด และควรทาด้วยสีขาวหรือสีเหลือง
                1.3 เส้นทุกเส้นเป็นส่วนประกอบของพื้นที่ซึ่งกำหนดไว้
                1.4 เสาตาข่ายจะต้องสูง 1.55   เมตรจากพื้นสนาม และตั้งตรงเมื่อขึงตาข่ายให้ตึงตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 1.10  โดยที่จะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของเสายื่นเข้าไปในสนาม (ระเบียบนี้ให้ใช้เฉพาะรายการแข่งขันที่ IBF  รับรอง ส่วนรายการแข่งขันอื่นให้เริ่มใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2547)
                1.5 เสาตาข่ายจะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้างของประเภทคู่ตามที่ได้แสดงไว้ในภาพที่  1 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเล่นเดี๋ยวหรือเล่นคู่
                1.6  ตาข่ายจะต้องถักด้วยเส้นด้ายสีเข้ม และมีขนาดตากว้างไม่น้อยกว่า 15  มิลลิเมตร และไม่เกิน 20 มิลลิเมตร
                1.7 ตาข่ายต้องมีความกว้าง 760 มิลลิเมตร และความยาวอย่างน้อย  6.1 เมตร
                1.8 ขอบบนของตาข่ายต้องมีแถบผ้าสีขาวพับสองทบ ขนาดกว้าง 75  มิลลิเมตร ทับบนเชือกหรือลวดที่ร้อยตลอดแถบผ้าขาว
                1.9 เชือกหรือลวดต้องมีขนาดพอที่จะขึงให้ตึงเต็มที่กับหัวเสา
                1.10 สุดขอบบนตาข่ายต้องสูงจากพื้นตรงกึ่งกลางสนาม 1.524 เมตร และ 1.55 เมตร เหนือเส้นเขตข้างของประเภทคู่
                1.11 ต้องไม่มีช่องว่างระหว่างสุดปลายตาข่ายกับเสา ถ้าจำเป็นต้องผูกร้อยปลายตาข่ายทั้งหมดกับเสา
2. ลูกขนไก่
                2.1 ลูกขนไก่อาจทำจากวัสดุธรรมชาติ และ/หรือ วัสดุสังเคราะห์ไม่ว่าลูกนั้นจะทำจากวัสดุชนิดใดก็ตาม ลักษณะวิถีวิ่ง
2.2  ลูกขนไก่ต้องมีขน  16  อัน ปักอยู่บนฐาน
2.3  วัดจากปลายขนถึงปลายสุดของฐาน โดยความยาวของขนในแต่ละลูกจะเท่ากันหมด ระหว่าง 6.2  มิลลิเมตร ถึง 70  มิลลิเมตร
                2.4 ปลายขนแผ่เป็นรูปวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 58  มิลลิเมตร ถึง  68  มิลลิเมตร
                2.5 ขนต้องมัดให้แน่นด้วยเส้นด้ายหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม
                2.6 ฐานของลูกต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร ถึง 28 มิลลิเมตร และส่วนล่างมนกลม
                2.7 ลูกขนไก่จะมีน้ำหนักตั้งแต่ 4.74 ถึง 5.50 กรัม
                2.8 ลูกขนไก่ที่ไม่ใช้ขนธรรมชาติ
                                2.8.1 ใช้วัสดุสังเคราะห์แทนขนธรรมชาติ
                                2.8.2 ฐานลูก ดังที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 2.6
                                2.8.3 ขนาดและน้ำหนักของลูกต้องเป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 2.3, 2.4 และ 2.7 อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของความถ่วงจำเพาะและคุณสมบัติของวัสดุสังเคราะห์โดยการเปรียบเทียบกับขนธรรมชาติ ยอมให้มีความแตกต่างได้ถึง 10%
                2.9 เนื่องจากมิได้กำหนดความแตกต่างในเรื่องลักษณะทั่วไป ความเร็ว และวิถีวิ่งของลูก อาจมีการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นได้โดยการอนุมัติจากองค์กรแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง ในที่ซึ่งสภาพความกดอากาศสูงหรือสภาพดินฟ้าอากาศเป็นเหตุให้ลูกขนไก่ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เหมาะสม
3. การทดสอบความเร็วของลูก
                3.1 การทดสอบ ให้ยืนหลังเส้นเขตหลังแล้วตีลูกใต้มืออย่างสุดแรงโดยจุดสัมผัสลูกอยู่เหนือเส้นเขตหลัง ลูกจะพุ่งเป็นมุมสูงและอยู่ในแนวขนานกับเส้นเขตข้าง
                3.2 ลูกที่มีความเร็วถูกต้อง จะตกห่างจากเส้นเขตหลังของอีกด้านหนึ่งไม่น้อยกว่า 530 มิลลิเมตร และไม่มากกว่า 990 มิลลิเมตร
 4. แร็กเกต
                4.1 เฟรมของแร็กเกตยาวทั้งหมดไม่เกิน 680 มิลลิเมตร และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 230 มิลลิเมตร ส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญได้อธิบายไว้ในกติกาข้อ 4.1.1 ถึง 4.1.5 และได้แสดงไว้ในภาพที่  3
                                4.1.1 ด้ามจับ เป็นส่วนของแร็กเกตที่ผู้เล่นใช้จับ
                                4.1.2 พื้นที่ขึงเอ็น เป็นส่วนของแร็กเกตที่ผู้เล่นใช้ตีลูก
                                4.1.3 หัว  บริเวณที่ใช้ขึงเอ็น
                                4.1.4 ก้าน ต่อจากด้ามจับถึงหัว (ขึ้นอยู่กับกติกาข้อ 4.1.5)
                                4.1.5 คอ (ถ้ามี) ต่อก้านกับขอบหัวตอนล่าง
               4.2 พื้นที่ขึงเอ็น
                                4.2.1 พื้นที่ขึงเอ็นต้องแบนราบ ด้วยการร้อยเอ็นเส้นขวางขัดกับเส้นยืนแบบการขึงเอ็นทั่วไป โดยพื้นที่ตอนกลาง ไม่ควรทึบน้อยกว่าตอนอื่น ๆ
                                4.2.2 พื้นที่ขึงเอ็นต้องยาวทั้งหมดไม่เกิน 280 มิลลิเมตร และกว้างทั้งหมดไม่เกิน  220
มิลลิเมตร อย่างไรก็ตามอาจขึงไปถึงคอเฟรมหากความกว้างที่เพิ่มของพื้นที่ขึงเอ็นนั้นไม่เกิน 35 มิลลิเมตรและความยาวทั้งหมดของพื้นที่ขึงเอ็นต้องไม่เกิน 330 มิลลิเมตร
                4.3 แร็กเกต
                                4.3.1 ต้องปราศจากวัตถุอื่นติดอยู่ หรือยื่นออกมา ยกเว้นจากส่วนที่ทำเพื่อจำกัดและป้องกันการสึกหรอ ชำรุดเสียหาย การสั่น สะเทือน การกระจายน้ำหนัก หรือการพันด้ามจับให้กระชับมือผู้เล่นและมีความเหมาะสมทั้งขนาดและการติดตั้งสำหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว และ
                                4.3.2 ต้องปราศจากสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ ที่ช่วยให้ผู้เล่นเปลี่ยนรูปทรงของแร็กเกต
5. การยอมรับอุปกรณ์
                สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ จะกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับปัญหาของแร็กเกต ลูกขนไก่ หรืออุปกรณ์ต้นแบบ ซึ่งใช้ในการเล่นแบดมินตันให้เป็นไปตามข้อกำหนดต่าง ๆ กฎเกณฑ์ดังกล่าวอาจเป็นการริเริ่มของสหพันธ์เองหรือจากการยื่นความจำนงของคณะบุคคลที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอย่างแท้จริงกับผู้เล่น ผู้ผลิต หรือองค์กรแห่งชาติหรือสมาชิกองค์กรนั้น ๆ
6. การเสี่ยง
6.1ก่อนเริ่มเล่น จะต้องทำการเสี่ยง ฝ่ายที่ชนะการเสี่ยงมีสิทธิ์เลือกตามกติกาข้อ 6.1.1 หรือ
6.1.2
                                6.1.1 ส่งลูกหรือรับลูกก่อน
                                6.1.2 เริ่มเล่นจากสนามข้างใดข้างหนึ่ง
                6.2 ฝ่ายที่แพ้การเสี่ยง มีสิทธิ์ที่เหลือจากการเลือก
7. ระบบการนับคะแนน
                7.1 แมทช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน เกม เว้นแต่จะไม่กำหนดเป็นอย่างอื่น
                7.2 ในประเภทชายคู่และประเภทชายเดี่ยว ฝ่ายที่ได้ 15 คะแนน ก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 7.5
                7.3 ในประเภทหญิงเดี่ยว ฝ่ายที่ได้  11 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 7.5
                7.4 ฝ่ายส่งลูกเท่านั้น เป็นฝ่ายได้คะแนน (กติกาข้อ 10.3 หรือ 11.5)
                7.5 ถ้าได้ 14 คะแนนเท่ากัน (10 คะแนนเท่ากันในประเภทหญิงเดี่ยว) ฝ่ายที่ได้ 14 (10) คะแนนก่อน มีสิทธิ์เลือกตามกติกาข้อ 7.5.1  หรือ  7.5.2
                                7.5.1 ต่อเกมนั้นถึง 15 (11) คะแนน กล่าวคือ ไม่เล่นต่อ ในเกมนั้นคือ
                                7.5.2 “เล่นต่อ เกมนั้นถึง 17 (13) คะแนน
                7.6 ฝ่ายชนะ เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเกมต่อไป
8.การเปลี่ยนข้าง
                8.1 ผู้เล่นจะเปลี่ยนข้าง                     
                                8.1.1 หลังจากจบเกมที่  1
                                8.1.2 ก่อนเริ่มเล่นเกมที่ 3  (ถ้ามี) และ
                                8.1.3 ในเกมที่ 3 หรือในการแข่งขันเกมเดียว เมื่อคะแนนนำถึง
                                                -  6 คะแนน สำหรับเกม 11 คะแนน
                                                -  8 คะแนน สำหรับเกม  15 คะแนน
                8.2 ถ้าผู้เล่นลืมเปลี่ยนข้างตามที่ได้ระบุไว้ในกติกาข้อ 8.1 ผู้เล่นต้องเปลี่ยนข้างทันทีที่รู้ตัวและลูกไม่อยู่ในการเล่น และให้นับคะแนนต่อจากคะแนนที่ได้ในขณะนั้น
9.การส่งลูก
                 9.1 การส่งลูกที่ถูกต้อง
                                9.1.1  ทั้งสองฝ่ายต้องไม่ประวิงเวลาให้เกิดความล่าช้าในการส่งลูกทันทีที่ผู้เล่นจะส่งลูก และผู้รับลูกอยู่ในท่าพร้อมแล้ว
                                9.1.2  ผู้ส่งลูกและผู้รับลูกต้องยืนในสนามส่งลูกทแยงมุมตรงข้ามโดยเท้าไม่เหยียบเส้นเขตของสนามส่งลูก
                                9.1.3 บางส่วนของเท้าทั้งสองของผู้ส่งลูกและผู้รับลูกต้องสัมผัสพื้นสนามในท่านิ่งตั้งแต่เริ่มส่งลูก (กติกาข้อ 9.4 ) จนกระทั่งส่งลูกแล้ว (กติกาข้อ 9.5)
                                9.1.4 จุดสัมผัสแรกของแร็กเกต ผู้ส่งต้องตีที่ฐานของลูก
                                9.1.5 ทุกส่วนของลูกจะต้องอยู่ต่ำกว่าเอวของผู้ส่ง ขณะที่แร็กเกตสัมผัสลูก
                                9.1.6 ก้านแร็กเกตของผู้ส่งลูกในขณะตีลูก ต้องชี้ลงต่ำจนเห็นได้ชัดว่า ส่วนหัวทั้งหมดของแร็กเกตอยู่ต่ำกว่าทุกส่วนของมือที่จับแร็กเกตของผู้ส่งลูก
                                9.1.7 การเคลื่อนแร็กเกตของผู้ส่งลูกไปข้างหน้า ต้องต่อเนื่องจากการเริ่มส่งลูก (กติกาข้อ 9.4)  จนกระทั่งได้ส่งลูกแล้ว และ
                                9.1.8 วิถีลูกจะพุ่งขึ้นจากแร็กเกตของผู้ส่งลูกข้ามตามข่ายและถ้าปราศจากการสกัดกั้น ลูกจะตกลงบนพื้นสนามส่งลูกของผู้รับลูก(กล่าวคือบนหรือภายในเส้นเขต)
                9.2 ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้อง ตามกติกาของข้อ 9.1.1 ถึง 9.1.8 ถือว่าฝ่ายทำผิด เสีย (กติกาข้อ 13)
                9.3 ถือว่า เสีย ถ้าผู้ส่งลูกพยายามจะส่งลูก โดยตีไม่ถูกลูก
                9.4  เมื่อผู้เล่นอยู่ในท่าพร้อมแล้ว การเคลื่อนแร็กเกตไปข้างหน้าของผู้ส่งลูกถือว่า เริ่มส่งลูก
                9.5 ถือว่าได้ส่งลูกแล้ว (กติกาข้อ 9.4) ถ้าแร็กเกตของผู้ส่งสัมผัสลูกหรือพยายามจะส่งลูกแต่ตีไม่ถูกลูก
                9.6 ผู้ส่งลูกจะส่งลูกไม่ได้ถ้าผู้รับลูกยังไม่พร้อม แต่ถือว่าผู้รับลูกพร้อมแล้วพยายามตีลูกที่ส่งมากลับไป
                9.7 ในประเภทคู่ คู่ขาจะยืน ณ ที่ใดก็ได้ โดยไม่บังผู้ส่งลูกและผู้รับลูก
10.ประเภทเดี่ยว
                10.1 สนามส่งลูกและรับลูก
                                10.1.1 ผู้เล่นจะส่งลูกรับลูกในสนามส่งลูกด้านขวาเมื่อผู้ส่งลูกคะแนนไม่ได้ หรือคะแนนที่ได้เป็นเลขคู่ในเกมนั้น
                                10.1.2 ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านซ้ายเมื่อผู้ส่งลูกได้คะแนนเป็นเลขคี่ในเกมนั้น
                10.2  คะแนนและการส่งลูก
                                10.3.1 ถ้าผู้รับทำ เสีย หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น
                10.3 คะแนนและการส่งลูก
                                10.3.1 ถ้าผู้รับทำ เสีย หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงพื้นสนามของผู้รับ ผู้ส่งลูกได้คะแนน ผู้ส่งจะได้ส่งลูกต่อไปในสนามส่งอีกด้านหนึ่ง
                                10.3.2 ถ้าผู้ส่งทำ เสีย หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงบนพื้นสนามของผู้ส่ง ผู้ส่งหมดสิทธิ์การส่งลูก และผู้รับก็จะได้เป็นผู้ส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้คะแนน
11.ประเภทคู่
                11.1 เมื่อเริ่มเล่นแต่ละครั้ง ฝ่ายที่ได้สิทธิ์ส่ง ต้องเริ่มส่งจากสนามส่งลูกด้านขวา
                11.2 ผู้รับลูกเท่านั้นเป็นผู้ตีลูกกลับไป ถ้าลูกถูกตัว หรือคู่ขาของผู้รับตีลูก ถือว่า เสีย ผู้ส่งลูกได้ 1 คะแนน
                11.3 ลำดับการเล่นและตำแหน่งยืนในสนาม
                                11.3.1 หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว ผู้เล่นของฝ่ายส่งคนหนึ่งคนใดตีลูกกลับไป และผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายรับโต้ลูกกลับมา เป็นอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าลูกไม่อยู่ในการเล่น
                                11.3.2 หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจะตีโต้ลูกจากที่ใดก็ได้ภายในสนามของตนโดยมีตาข่ายกั้น
               

                11.4 สนามส่งลูกและรับลูก
                                11.4.1 ผู้เล่นที่มีสิทธิ์ส่งตอนเริ่มต้นของแต่ละเกมจะส่งหรือรับลูกในสนามส่งด้านขวา เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้คะแนน หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกด้านซ้ายเมื่อคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่
                                11.4.2 ผู้เล่นที่เป็นผู้รับตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม จะรับหรือส่งลูกในสนามส่งลูกด้านขวา เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้คะแนน หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกด้านซ้าย เมื่อคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่
                                11.4.3 ให้คู่ขาของผู้เล่นปฏิบัติในทางกลับกัน
11.5 คะแนนและการส่งลูก
                                11.5.1 ถ้าฝ่ายรับทำ เสีย หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายรับ ฝ่ายส่งได้ 1 คะแนน และผู้ส่งยังคงได้ส่งลูกต่ออีก
                                11.5.2 ถ้าฝ่ายส่งทำ เสีย หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายส่ง ผู้ส่งหมดสิทธิ์ส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้คะแนน
                11.6 การส่งลูกทุกครั้ง ต้องส่งจากสนามส่งลูกสลับกันไปยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในกติกาข้อ 12 และข้อ 14
                11.7 ในการเริ่มต้นเกมใดก็ตาม ผู้มีสิทธิ์ส่งคนแรกส่งลูกจากสนามด้านขวาไปยังผู้รับลูกคนแรกและส่งไปยังคู่ขาของผู้รับตามลำดับไปจนกระทั่งเสียสิทธิ์ จึงจะเปลี่ยนส่งไปให้ฝ่ายตรงข้ามที่จะต้องเริ่มส่งจากสนามด้านขวา (กติกาข้อ 11.4 ) จากนั้นจะให้คู่ขาส่งสลับกันไป
                11.8 ห้ามผู้เล่นส่งลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่ง  หรือรับลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้รับ หรือรับลูกส่งติดต่อกันสองครั้งในเกมเดียวกัน ยกเว้นตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 12 และข้อ 14
                11.9 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายชนะ จะเป็นผู้ส่งลูกก่อนในเกมต่อไปก็ได้ และผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายแพ้จะเป็นผู้รับลูกก่อนก็ได้
12. ความผิดในสนามส่งลูก
                12.1 ความผิดในสนามส่งลูกเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่น
                                12.1.1 ส่งลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่ง
                                12.1.2 ส่งลูกจากสนามส่งลูกที่ผิด หรือ
                                12.1.3 ยืนผิดสนามและได้เตรียมที่จะรับลูกที่ส่งมา
                12.2 ถ้าพบความผิดในสนามส่งลูกก่อนส่งลูกครั้งต่อไป
                                12.2.1 หากฝ่ายหนึ่งทำผิดและชนะในการตีโต้ให้เอาใหม่
                                12.2.2 หากฝ่ายหนึ่งทำผิดและแพ้ในการตีโต้ ไม่มีการแก้ไขความผิด
                                12.2.3 หากทั้งสองฝ่ายทำความผิดด้วยกันให้ เอาใหม่
                12.3 ถ้ามีการ เอาใหม่ เพราะความผิดในสนามส่งลูก ให้เล่นใหม่พร้อมกับแก้ไข
                12.4 ถ้าพบความผิดในสนามส่งลูกหลังจากได้ส่งลูกครั้งต่อไป แล้วจะไม่มีการแก้ไขความผิดนั้น ให้เล่นต่อไปโดยไม่มีการเปลี่ยนสนามส่งลูกใหม่ของผู้เล่น (หรือให้เปลี่ยนลำดับใหม่ของการส่งลูกในกรณีเดียวกัน)
13. การทำเสีย
                ถือว่า เสีย
                13.1 ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้อง (กติกาข้อ 9.1) หรือตามกติกาข้อ 9.3  หรือการรับลูกไม่ถูกต้องตามกติกาข้อ 11.2
                13.2 ถ้าในขณะเล่น ลูกขนไก่
                                13.2.1 ตกลงบนพื้นนอกเส้นเขตสนาม (กล่าวคือ ไม่อยู่บนหรือภายในเส้นเขตสนาม)
                                13.2.2 ลอดผ่านหรือลอดใต้ตาข่าย
                                13.2.3 ไม่ข้ามตาข่าย
                                13.2.4 ถูกเพดาน หรือฝาผนัง
                                13.2.5 ถูกตัวผู้เล่น หรือเครื่องแต่งกายผู้เล่น
                                13.2.6 ถูกวัตถุหรือตัวบุคคลภายนอกที่อยู่ใกล้เคียงล้อมรอบสนาม (ในกรณีที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวอาคาร ผู้มีอำนาจเกี่ยวกับแบดมินตันต้องถิ่นอาจวางกฎเพิ่มเติมเกี่ยวกับลูกถูกสิ่งกีดขวางได้ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่สิทธิความเห็นชอบของภาคีสมาชิก
                13.3 ถ้าในระหว่างการเล่น ผู้เล่นตีลูกก่อนที่ลูกจะข้ามตาข่ายมาในเขตสนามของตัวเอง (อย่างไรก็ดี ผู้ตีอาจใช้แร็กเกตตามลูกข้ามตาข่ายในระหว่างตีลูก)
                13.4 ถ้าลูกอยู่ในระหว่างการเล่น ผู้เล่น
                                13.4.1 ถูกตาข่ายหรืออุปกรณ์ที่ขึง ด้วยแร็กเกต ด้วยตัวหรือด้วยเครื่องแต่งกาย
                                13.4.2 ล้ำบนตาข่ายเข้าไปในเขตสนามของคู่ต่อสู้ ด้วยแร็กเกต ด้วยตัว ยกเว้นตามที่ได้รับอนุญาตไว้ในกติกาข้อ 13.3
                                13.4.3  ล้ำใต้ตาข่ายไปในเขตสนามของคู่ต่อสู้ด้วยแร็กเกตหรือด้วยตัวจนเป็นการกีดขวางหรือทำลายสมาธิคู่ต่อสู้
                                13.4.4 กีดขวางคู่ต่อสู้ กล่าวคือ กันไม่ให้คู่ต่อสู้ตีลูกที่ข้ามตาข่ายมาอย่างถูกต้องตามกติกา ในขณะที่เล่นลูกอยู่เหนือข่าย
                13.5 ถ้าในระหว่างการเล่น ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจงใจทำลายสมาธิคู่ต่อสู้ด้วยการกระทำต่าง ๆ เช่น ร้องตะโกนหรือแสดงท่าทาง
                13.6 ถ้าระหว่างการอ่าน ลูกขนไก่
                                13.6.1 ติดอยู่ในแร็กเกต แล้วถูกเหวี่ยงออกไปในระหว่างตีลูก
                                13.6.2 ถูกตีสองครั้งติดต่อกัน โดยผู้เล่นคนเดียวกัน
                                13.6.3 ถูกตีโดยผู้เล่นคนหนึ่ง และคู่ขาของผู้เล่นคนนั้นตีติดต่อกัน หรือ
                                13.6.4 ถูกแร็กเกตของผู้เล่นคนหนึ่ง แล้วลอยไปทางท้ายสนามด้านหลังของผู้เล่นคนนั้น
                13.7 ถ้าผู้เล่นทำผิดอย่างโจ่งแจ้ง ซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือผิดพลาดอยู่ตลอดตามกติกาข้อ 16
                13.8  ถ้าหลังจากส่งลูกแล้วลูกไปติดและค้างอยู่บนตาข่ายหรือลูกข้ามตาข่ายแล้วติดค้างอยู่ในตาข่าย
14. การ เอาใหม่
                14.1การ เอาใหม่จะขานโดยกรรมการผู้ตัดสิน หรือโดยผู้เล่น (ไม่มีกรรมการผู้ตัดสิน) ขานให้หยุดเล่น
                                14.1.1  ให้ เอาใหม่ ถ้าผู้ส่งลูก ส่งลูกโดยที่ผู้รับลูกยังไม่พร้อม (ดูกติกาข้อ 9.6)
                                14.1.2 ให้ เอาใหม่ ถ้าในระหว่างการส่งลูก ผู้รับและผู้ส่งลูกทำ เสีย พร้อมกัน
                                14.1.3 ให้ เอาใหม่ ถ้าลูกไปติดและค้างอยู่บนตาข่ายหรือลูกข้ามตาข่ายแล้วติดค้างอยู่ในตาข่าย ยกเว้นในการส่งลูก
                                14.1.4  ให้ เอาใหม่”  ถ้าในระหว่างการเล่น ลูกขนไก่แตกแยกออกเป็นส่วน ๆ และฐานแยกออกจากส่วนที่เหลือของลูกโดยสิ้นเชิง
                                14.1.5 ให้ เอาใหม่  ถ้ากรรมการกำกับเส้นมองไม่เห็น และกรรมการผู้ตัดสินไม่สามารถตัดสินไม่สามารถตัดสินใจได้
                                14.1.6 การ เอาใหม่ สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดในสนามส่งลูก ตามที่ระบุในกติกาข้อ 12.2.1 หรือ 12.2.3 หรือ
                                14.1.7 ให้ เอาใหม่สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อนหรือโดยเหตุบังเอิญ
                14.2 เมื่อมีการ เอาใหม่ การเล่นหลังจาการส่งลูกครั้งสุดท้ายถือเป็นโมฆะ และผู้เล่นที่ส่งลูกจะได้ลูกอีกครั้งหนึ่ง ยกเว้นหากเป็นไปตามกติกาข้อ 12
15. ลูกไม่อยู่ในการเล่น
                ลูกไม่อยู่ในการเล่น เมื่อ
                15.1 ลูกชนตาข่ายแล้วติดอยู่ที่ตาข่าย หรือค้างอยู่บนขอบตาข่าย
                15.2 ลูกชนตาข่ายหรือเสาตาข่ายแล้วตกลงบนพื้นสนามในด้านของผู้ตีลูก
                15.3 ลูกถูกพื้นสนาม หรือ
                15.4 เกิดการ เสีย หรือการ เอาใหม่
16. การเล่นต่อเนื่อง การทำผิด การลงโทษ
                16.1 การเล่นต้องต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มส่งลูกแรกจนสิ้นสุดการแข่งขันยกเว้นตามที่ได้อนุญาตไว้ในกติกาข้อ 16.2 และ 16.3
                16.2 พักระหว่างการจบเกมที่ 1 และเริ่มเกมที่ 2 ได้ไม่เกิน 90 วินาที และไม่เกิน 5 นาที ระหว่างจบเกมที่ 2 และเริ่มเกมที่ 2  และเริ่มเกมที่ 3 อนุญาตสำหรับทุกแมทช์ของการแข่งขัน(ในการแข่งขันที่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์กรรมการผู้ชี้ขาดอาจตัดสินใจก่อนเริ่มการแข่งขันว่า การพักตามกติกาข้อ 16.2 อยู่ในอาณัติและเวลากำหนด)
                16.3 พักการเล่น
                                16.3.1 เมื่อมีความจำเป็นจากสภาพแวดล้อมที่มิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เล่น กรรมการผู้ตัดสินอาจสั่งให้พักการเล่นชั่วคราวตามที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็น
                                16.3.2 ภายใต้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ  ที่ผิดปกติ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจแนะให้กรรมการผู้ตัดสินพักการเล่น
                                16.3.3 ถ้ามีการพักการเล่น คะแนนที่ได้จะอยู่คงเดิมและจะเริ่มใหม่จากคะแนนนั้น
                16.4  การถ่วงเวลาการเล่น
                                16.4.1 ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น ห้ามถ่วงเวลาการเล่นเพื่อให้ผู้เล่นฟื้นคืนกำลัง หรือหายเหนื่อย
                                16.4.2  กรรมการผู้ตัดสินจะวินิจฉัยความล่าช้าแต่เพียงผู้เดียว
                16.5 คำแนะนำและการออกนอกสถาน
                                16.5.1 ห้ามผู้เล่นรับคำแนะนำระหว่างการแข่งขัน ยกเว้นการพักตามกติกาข้อ 16.2  และ 16.3
                                16.5.2 ห้าผู้เล่นเดินออกนอกสนามระหว่างการแข่งขันโดยมิได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสิน ยกเว้นระหว่างพัก 5 นาที ตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 16.2
                16.6  ผู้เล่นต้องไม่
                                16.6.1 จงใจถ่วงเวลาหรือพักการเล่น
                                16.6.2 จงใจแปลงหรือทำลายลูกเพื่อเปลี่ยนความเร็วและวิถี
                                16.6.3 แสดงกิริยาก้าวร้าว หรือ
                                16.6.4  กระทำผิดนอกเหนือกติกา
                16.7 กรรมการผู้ตัดสินจะต้องดำเนินการกับความผิดตามกติกาข้อ 16.4, 16.5 หรือ 16.6 โดย
                                16.7.1 เตือนผู้กระทำผิด
                                16.7.2 ตัดสิทธิ์ผู้กระทำผิดหลังจากได้เตือนก่อนแล้ว
                                16.7.3 ในกรณีผิดอย่างเห็นได้ชัดหรือผิดอยู่ตลอด ให้ตัดสิทธิ์ผู้กระทำผิด แล้วรายงานให้กรรมการผู้ชี้ขาดทราบทันทีซึ่งกรรมการผู้ชี้ขาดมีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำผิดออกจากการแข่งขัน
17.กรรมการสนามและการอุทธรณ์
                17.1 กรรมการผู้ชี้ขาดเป็นดูแลรับผิดชอบการแข่งขันทั้งหมด
                17.2 กรรมการผู้ตัดสินที่ได้รับแต่งตั้งจะตั้งจะต้องทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน สนามและบริเวณโดยรอบสนามแข่งขัน กรรมการผู้ตัดสินต้องรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาด
                17.3 กรรมการกำกับการส่งลูกเป็นผู้ขาน เสีย สำหรับการส่งลูกที่ผู้ส่งเป็นผู้กระทำ (กติกาข้อ 9.1.2 – 9.1.7)
                17.4  กรรมการกำกับเส้นเป็นผู้ให้สัญญาณ ดี หรือ ออก ในเส้นเขตที่ได้รับมอบหมาย
                17.5  การผู้ตัดสินใจเกี่ยวข้อเท็จจริงทั้งหมดของกรรมการสนามที่รับผิดชอบถือว่าสิ้นสุด
                17.6 กรรมการผู้ตัดสินจะต้อง
                                17.6.1 ควบคุมการแข่งขันให้ดำเนินไปภายใต้ภายใต้กฎกติกาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขาน เสีย หรือ เอาใหม่ เมื่อมีกรณีเกิดขึ้น
                                17.6.2 ตัดสินคำอุทธรณ์เกี่ยวกับการโต้แย้ง ซึ่งมีขึ้นก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป
                                17.6.3 แน่ใจว่า ผู้เล่นและผู้ชมได้ทราบถึงความคืบหน้าของการแข่งขัน
                                17.6.4 แต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการกำกับเส้น หรือกรรมการกำกับการส่งลูก หลังจากได้ปรึกษากับกรรมการผู้ชี้ขาดแล้ว
                                17.6.5 หากไม่มีการแต่งตั้งกรรมการสนามอื่น จะต้องปฏิบัติหน้าที่นั้นให้เรียบร้อย
                                17.6.6 หากกรรมการสนามที่ได้รับการแต่งตั้งมองไม่เห็นต้องดำเนินการในหน้าที่ของกรรมการนั้น หรือให้ เอาใหม่
                                17.6.7 บันทึกและรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาดทุกเรื่องที่เกี่ยวกับกติกาข้อ 16 และ
                                17.6.8 เสนอคำอุทธรณ์ที่ไม่พึงพอใจในปัญหาเกี่ยวกับกติกาต่อกรรมการผู้ชี้ขาด (คำอุทธรณ์ดังกล่าวจะต้องเสนอก่อนการส่งลูกครั้งต่อไปหรือเมื่อการแข่งขันสุดลงก่อนที่ฝ่ายอุทธรณ์จะเดินออกจากสนาม)


การแปรสนามและอุปกรณ์
                1. หากไม่สะดวกที่จะตั้งเสาตาข่ายบนเส้นเขตข้างจะต้องหาวิธีแสดงให้เห็นแนวของเส้นเขตข้างที่ลอดผ่านตาข่าย กล่าวคือ ใช้เสาบาง ๆ หรือวัสดุที่เป็นแถบยาวกว้าง 40 มิลลิเมตร กล่าวคือ ใช้เสาบาง ๆ หรือวัสดุที่เป็นแถบยาวกว้าง 40 มิลลิเมตร ติดตั้งบนเส้นเขตข้างตรงขึ้นไปยังเชือกหรือลวดร้อยตาข่าย
                2.พื้นที่ที่ไม่อาจทำสนามสำหรับประเภทคู่ จะทำสนามประเภทเดี่ยวก็ได้ตามที่ได้แสดงไว้ใน ภาพที่ เส้นเขตหลังของการส่งลูกยาว และเสาหรือวัสดุที่เป็นแถบยาวใช้แทนเสา จะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้าง
การแข่งขันต่อแต้ม
                ในการแข่งขันต่อแต้ม ให้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาดังต่อไปนี้
                1. ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนคะแนนที่ชนะของเกมหนึ่ง ๆ (กล่าวคือไม่อนุญาตให้เล่นต่อตามกติกาข้อ 7.4 )
                2. ให้แก้กติกาข้อ 8.1.3 เป็น
                    ในเกมที่ 3  และในการแข่งขันเกมเดียว เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำคะแนนได้ครึ่งหนึ่งของคะแนนทั้งหมดที่ต้องการในเกมนั้น (ในกรณีมีเศษให้ปัดขึ้น)
เกมนอกเหนือ  11 หรือ 15 แต้ม
                อนุญาตให้เล่นเกมเดียว 21 คะแนน หรือ 5 เกม 7 คะแนน โดยตกลงกันล่วงหน้า
กติกาที่ควรเน้นเป็นพิเศษ
                ข้อ 9 การส่งลูกที่ถูกต้อง
                -  ไม่ประวิงเวลา
                -  ยืนไม่เหยียบเส้นเขตสนามส่งลูก
                - บางส่วนของเท้าทั้งสองสัมผัสพื้นสนามในท่านิ่ง
                - จุดสัมผัสแรกต้องตีฐานของลูก
                - ทุกส่วนของลูกอยู่ต่ำกว่าเอว
                -  ก้านแร็กเกตชี้ต่ำ ส่วนหัวทั้งหมดอยู่ต่ำกว่าทุกส่วนของมือ
                - การเคลื่อนแร็กเกตต้องต่อเนื่องเมื่อเริ่มส่งลูก
                - วิถีของลูกที่ส่งออกไปจะต้องพุ่งขึ้น
การส่งลูกเสีย หรือต้องเอาใหม่
                - ผิดกติกาทั้ง 8 ข้อ รวมทั้ง
                - พยายามส่งแต่ตีไม่ถูกลูก
                - ผู้รับยังไม่พร้อม
                - แร็กเกตสัมผัสลูกแล้ว
ข้อ 12 ความผิดในสนามส่งลูก
                - ส่งลูกผิดมือ
                - ส่งลูกผิดคอร์ท
                - ยืนรับผิดคอร์ท
การตัดสิน
                - หากพบความผิดก่อนการส่งครั้งต่อไป
                  กรณีที่ 1 หากฝ่ายทำผิดชนะการตีโต้ให้ เอาใหม่
                  กรณีที่ 2  หากฝ่ายทำผิดแพ้การตีโต้ ไม่มีการแก้ไข
                  กรณีที่ 3 หากทั้งสองฝ่ายทำผิดให้ เอาใหม่
                - หากพบความผิดหลังการส่งลูกครั้งต่อไป ไม่ต้องแก้ไข
ข้อ  13 การทำเสีย
ขณะส่งลูก
                - การส่งลูกไม่ถูกต้อง
                - ขณะส่งตีไม่ถูกลูก
                - คู่ขาเป็นผู้ตีลูกส่งกลับไป หรือตีถูกลูกที่ส่งมา
ขณะการเล่น
                - ลูกขนไก่
                                - ตกบนพื้นนอกเขตสนาม
                                - ลอดผ่านตาข่าย/ลอดใต้ตาข่าย
                                - ไม้ข้ามตาข่าย
                                - ถูกเพดาน/ผนัง
                                - ถูกตัวหรือเครื่องแต่งกายผู้เล่น
                                - ถูกวัตถุหรือบุคคลภายนอก
                                - ติดอยู่ในแร็กเกตและถูกเหวี่ยงออกไป
                                - ตี  2  ครั้งติดต่อกันโดยผู้เล่นคนเดียว
                                - ตีโดยผู้เล่นและคู่ขาติดต่อกัน
                                - ถูกแร็กเกตแล้วลอยไปด้านหลัง
                                - หลังจากส่งแล้วไปติดบนตาข่าย  หรือข้ามแล้วค้างบนตาข่าย
                - ผู้เล่น
                                - ถูกตาข่ายหรืออุปกรณ์
                                - ล้ำบนตาข่าย
                                - ล้ำใต้ตาข่าย
                                - กีดขวางคู่ต่อสู้
                                - ทำลายสมาธิฝ่ายตรงข้าม
                                - ทำผิดอย่างโจ่งแจ้ง ซ้ำซาก
ข้อ 14  เอาใหม่
                                -  ผู้รับลูกยังไม่พร้อม
                                - ผู้รับและผู้ส่งทำผิดพร้อมกัน
                                - ลูกค้างบนตาข่าย
                                - ลูกขนไก่แยกเป็นส่วน ๆ
                                - กรรมการกำกับเส้นไม่เห็น
                                - เกิดจากความคิดผิดในสนามส่งลูก
                                - เกิดสิ่งไม่คาดคิด หรือเหตุบังเอิญ
                                - เกิดสิ่งไม่คาดคิด หรือเหตุบังเอิญ
ข้อ 16 การเล่นต่อเนื่อง การทำผิด การลงโทษ กรรมการจะต้องเป็นผู้ตัดสินแต่เพียงผู้เดียวในกรณี
                                - การเล่นต่อเนื่อง
                                - การพักระหว่างเกม
                                - การพักการเล่น
ผู้เล่นจะต้องไม่
                                - ถ่วงเวลาหรือพักการเล่น
                                - ทำลายวิถีของลูก
                                - กระทำผิดนอกเหนือกติกา
การตัดสิน            
                                - เตือน
                                - ตัดสิทธิ์
                                - รายงาน