วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วิธีการเล่นกีฬาแบดมินตัน



วิธีการเล่นกีฬาแบดมินตัน

แบบ เดียว
  1.  การยืน ต้องรักษาจุดศูนย์กลางเพื่อเตรียมพร้อมที่จะรักษาพื้นที่ของสนามได้ทั่วถึงทุกตารางนิ้ว จุดศูนย์กลางของประเภทเดี่ยวอยู่ที่เส้นกลางที่ห่างจากเส้นส่งลูกสั้นมาหลังสนามประมาณ 3 ฟุตเศษ เมื่อผู้เล่นยืนคร่อมเส้นกลางจะทำให้ยืนค่อนไปข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อรักษาพื้นที่และจะได้ครอบคลุมสนามหน้าตาข่ายได้สมบรูณ์ขึ้น ซึ่งผู้เล่นไม่เพียงแต่จะวิ่งเข้ารับลูกหยอดได้ทันท่วงทีเท่านั้นยังจะต้องสามารถตีลูกในระดับสูงอีกด้วย จึงทำให้มุมการตีกว้างขึ้น ฉะนั้นโอกาสที่จะใช้ลูกหลอกล่อก็มีมากขึ้นจุดศูนย์กลางจะเป็นฐานทัพของการเล่นเดี่ยว ไม่ว่าผู้เล่นจะพาตัวไปตีลูกยังส่วนใดของสนาม เมื่อตีลูกตอบโต้ข้ามไปแล้ว จะต้องคืนสู่จุดศูนย์กลางในลักษณะเตรียมพร้อมซึ่งจะเป็นการแบ่งช่องว่างในแต่ละส่วนของสนามให้เท่าๆกัน

  2.  เป้าหมายในการตี ที่สำคัญๆมีอยู่ 4 มุมในสนาม จะเป็นการทำให้คู่แข่งขันออกจากจุดศูนย์กลาง และเปิดช่องว่างให้เรามากที่สุดเป้าหมายสูงสุดของมุมหลัง ถ้าผู้เล่นสามารถโยนลูกโด่งไปสู่เป้าหมายดังกล่าวนอกจากจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามถูกดึงไปตีลูกถึงหลังสนามแล้วยังเป็นเป้าหมายที่ปลอด ภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมซ้ายที่คู่ต่อสู้ต้องตีด้วยลูกหลังมือ ลูกที่โยนโด่งไปมาด้านหลังนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ถ้าคู่ต่อสู้หลักยังดีอยู่ก็ให้โยนลูกให้สูง เพื่อกันถูกคู่ต่อสู้ตะปบลูกถ้าคู่ต่อสู้เสียหลักก็ให้โยนลูกต่ำลงแรงและเร็วกว่าเดิมเพื่อตัดเวลาของลูกให้น้อยลง บังคับให้อีกฝ่ายตีลูกในเวลาจำกัด และไม่สามารถบังคับลูกให้เป็นไปตามวิถีที่ต้องการได้การตีลูกไปสู่เป้าหมายสองมุมหน้า ซึ่งใช้ลูกแตะหยอดหรือหยอดธรรมดา ลูกที่ย้อยข้ามจะต้องมีวิถีโค้งและปักหัวลงเมื่อลูกพ้นตาข่าย ถ้าลูกจะย้อยลงใกล้ตาข่ายก็จะเป็นการดึงให้คู่แข่งขันต้องเข้ามาตีลูกหรืองัดลูกทางด้านหน้าสุดของสนามซึ่งจะทำให้ลูกโด่งทำให้รับลูกสามารถตบลูกนี้ได้ หรือเลือกเล่นลูกอะไรก็ได้ถามถนัด

  3. จุดที่สำคัญ ๆ ในเกมส์ นักเล่นที่ฉลาดจะต้องเป็นผู้รู้เกมส์การเล่นของคู่ต่อสู้อย่างละเอียด โดยศึกษาดูสิ่งเหล่านี้ คือ(1) จุดเด่น ของคู่แข่งขันอย่างละเอียด โดยศึกษาการตีของคู่แข่งขันมาอย่างละเอียดก่อนศึกษาดูว่าคู่แข่งขันถนัดตีลูกใดมีกำลังและความสามารถเท่าใดก่อนที่จะทำการแข่งขันจงนำมาวางแผนก่อนเสมอ(2) จุดบกพร่อง ในการเล่นเกมส์ใดก็ตามการศึกษาดูจุดบกพร่องของคู่ต่อสู้ได้มากเท่าใดยิ่งเป็นการดี เช่น ดูลักษณะความถนัดของการตี การรับและการเคลื่อนไหวพยายามส่งลูกไปยังจุดนั้นให้มาก ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงเกมส์ที่คู่ต่อสู้ถนัดพร้อมทั้งใช้ชั้นเชิงดึงคู่ต่อสู้มาเล่นเกมส์ในเกมส์ของเราการทำเช่นนี้ย่อมได้เปรียบคู่ต่อสู้

  4.  ส่งลูกในการเล่นประเภทเดี่ยว การส่งลูกควรส่งลูกโด่งหลังสนามให้มากที่สุดประมาณ 90% ของลูกเดี่ยวทั้งหมดควรส่งลูกโด่งไปยังตำแหน่งต่างๆใกล้เส้นหลังโดยไม่ซ้ำที่กันลูกที่ดีคือลูกโด่งหลังที่ตกใกล้เส้นแบ่งกลางสนาม จะทำให้คู่ต่อสู้มีมุมในการโต้กลับน้อยและเป็นการบีบบังคับให้คู่ต่อสู้ออกจากตำแหน่งกลางสนามอีกประการหนึ่งคือจะทำให้คู่แข่งขันตีโต้กลับมากลางสนามไม่ว่าจะตีลูกใดก็ตามอีกประการที่สำคัญของการส่งลูก เราอย่าให้คู่ต่อสู้รู้ว่าเราจะส่งลูกอะไร ลักษณะไหนทั้งนี้อาจทำได้โดยการส่งลูกในลักษณะเดียวกันหมด

  5. การตอบโต้ (ลูกโยน) การตีลูกทุกครั้งต้องตีอย่างรวดเร็วและไม่ลังเล โดยตัดสินใจว่าเป้าหมายจะตีนั้นปลอดภัย และได้เปรียบคู่ต่อสู้เสมอในเกมส์เดี่ยว ส่วนใหญ่แล้วมักใช้ลูกโยนหลัง และการเล่นลูกมุมทั้ง 4 จะเป็นลูกที่ปลอดภัยที่สุด

  6. การตอบโต้ลูกต่ำและลูกหยอด ถ้าการส่งลูกต่ำเรารู้รับจะต้องรีบเคลื่อนตัวเข้าลุกและตีลูกข้างหน้าทันที อย่ารอให้ลูกวิ่งมาหาเราเอง เพื่อรักษาระดับการตีลูกให้สูงและใช้การตีลูกกดให้ต่ำถ้าเราเข้าช้าก็จะต้องเล่นลูกงัดใต้มือ ลูกจะข้ามไปให้อีกฝ่ายกดต่ำกลับมาเป้าหมายที่ปลอดภัยในการโต้ ตอบลูกส่งต่ำคือการแย็บที่เร็วหรืองัดโดยตรงไปสองมุมหลังหรือหยอดทิ้งไว้สองมุมหน้าให้ระวังการเย็บลูกที่คู่ต่อสู้อาจดักไว้ก่อนถ้าเป็นการแย็บให้โยนกลับไปหลังโดยเร็ว

  7. ลูกทแยงสนาม เป็นลูกที่ตีโต้ได้ผลลูกหนึ่งโดยเฉพาะใช้สลับกับการเล่นลูกครึ่งตบครึ่งตัดทแยงสนามจะเป็นการเพิ่มในการรุกโจมตีได้มากขึ้นบางครั้งถ้าเราเห็นคู่แข่งขันออกจากจุดเตรียม พร้อมอย่างผลีผลามก็จะยิ่งเปิดโอกาสให้เราเล่นลูกย้อนรอยคู่ต่อสู้ได้แต่การตีลูกอย่าตีซ้ำจนฝ่ายตรงข้ามจับทางถูกจะเป็นอันตรายแก่เราโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกหยอดทแยงนั้น อย่าทำซ้ำ ๆ จนคู่ต่อสู้ รู้ทางเพราะลูกจะถูกตบไปทางมุมหลังการเล่นลูกงัดจากหน้าตาข่ายไปทางหลังสนามจะต้องโด่งและดึงแดนหลังจริง ๆ เพราะถ้าไม่โด่งจริงแล้วจะถูกคู่ต่อสู้ดักตีลูกด้วยลูกตบทแยงไปอีกมุมทำให้เราต้องเพรี่ยงพร้ำเช่นกัน

  8. ลูกตบ ลูกที่จะทำให้คู่ต่อสู้รับยากคือลูกตบที่พุ่งขนานเส้นตั้งเพราะเป็นการตบลูกที่มีวิถีตรงและมีระยะทางวิ่งสั้นลูกตบจะต้องมีวิถีความยาวสั้นไม่เท่ากันคือตบยาวบ้างสั้นบ้างเพื่อทำให้คู่ต่อสู้ลังเลในการตั้งรับจะทำให้ลูกโยนข้ามมาไม่แน่นอนเราก็จะดักขึ้นตีโดยเตรียมหาจังหวะชูไม้แบดมินตันไว้ตบลูกซ้ำสองถ้าคู่ต่อสู้หยอดข้ามมาให้เรา เราจะต้องเคลื่อนเข้าหาลูกโดยเร็ว และตีลูกขณะอยู่สูงสุด อย่าตีลูกตกต่ำหรือตีลูกใต้มือโดยไม่จำเป็นในการเล่นเกมส์เดี่ยวลูกตบมีการเล่นพอ ๆ กันกับประเภทคู่ แต่ลูกที่คู่ต่อสู้โยนข้ามมาไม่ถึงหลัง (เศษสามส่วนสี่) ของสนามถือว่าสั้นผู้เล่นควรใช้ลูกตบเป็นส่วนใหญ่สลับกับลูกแตะหยอดหรือจี้โด่งมุมหลังเป็นครั้งคราว จะทำให้คู่แข่งขันเกิดความกังวลใจช่วยให้เราตีลูกอื่นได้สบายขึ้นแต่ลูกตบนี้ไม่ควรใช้บ่อยถ้าคู่แข่งขันรับได้ก็จะทำให้เราเปลืองแรงโดยใช่เหตุ ควรเล่นลูกอื่นหลอกล่อจนคู่แข่งขันเสียหลักก่อนแล้วจึงค่อยตบการตั้งรับลูกตบให้ยืนค่อนไปทางด้านตาข่ายเล็กน้อยห่างจากเส้นส่งสั้นประ มาณ 3 ฟุต จะทำให้ผู้รับรับลูกในระดับสูงได้เป็นการลดช่องว่างของสนามให้แคบลงการกำหนดจุดตั้งรับดังกล่าวนี้ อาจทำได้ผู้รับยืนยันในตอนแรก เพราะจะต้องคอยรับลูกตบในระยะที่ใกล้กว่าเดิมเมื่อฝึกจนชินแล้วจะพบว่าการรับลูกตบ ณ จุดดังกล่าวจำทำให้ได้เปรียบคู้ต่อสู้เป็นอย่างมากนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการนำเอาวิธีการต่างๆต่อไปนี้มาใช้ในการเล่นให้ดีขึ้น คือ(1) การพลางหน้าไม้แบดมินตัน ไม่ให้คู่ต่อสู้รู้ว่าเราจะตีลูกอะไร(2) การคาดการณ์ล่วงหน้า ว่าคู่ต่อสู้จะตีลูกอะไรเราจะดักตีด้วยลูกอะไรโดยดูจากหน้าไม้ ลักษณะท่าทางหรือเดาเหตุการณ์เอา(3) ลูกที่ใช้ตีมากในการเล่นเดี่ยวมีเพียง 3 ลูก คือ ลูกโด่งหลัง ลูกตบ และลูกหยอดจึงควรฝึกให้แม่นยำและนำมาใช้ให้มาก จะทำให้ผู้แข่งขันของเราต้องวิ่งอยู่ตลอดเวลา


แบบ  คู่

          1.  เมื่อเริ่มเล่นแต่ละครั้ง ฝ่ายที่ได้สิทธิ์ส่งลูกจะต้องเริ่มส่งลูกจากสนามส่งลูกทางขวามือ
        2.  ผู้รับลูกเท่านั้นเป็นผู้ตีลูกกลับไป ถ้าลูกถูกตัวหรือคู่ขาของผู้รับลูกตีกลับไป ผู้ส่งได้หนึ่งแต้ม
        3.  หลังจากที่รับลูกแล้ว ผู้เล่นของฝ่ายส่งลูกตีกลับไป และอีกฝ่ายก็ตีกลับมาทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าลูกไม่                 อยู่ในการเล่น
               3.1  หลังจากที่รับลูกที่ส่งมาแล้วผู้สามารถตีโต้จกที่ไหนๆก็ได้ภายในสนามของตนโดยมีตาข่ายกั้น
       4.  ถ้าฝ่ายรับทำลูกเสีย ฝ่ายส่งได้หนึ่งแต้ม และผู้ส่งยังคงได้ส่งลูกอีก
               4.1  ถ้าฝ่ายส่งลูกทำลูกเสียผู้ส่งลูกหมดสิทธิ์ในการส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้แต้ม
       5.  ผู้เล่นที่มีสิทธิ์ส่งลูกในตอนเริ่มต้นของแต่ละเกมจะส่งลูกหรือรับลูกในสนามส่งลูกทางขวามือ เมื่อผู้เล่น                  ฝ่ายนั้นไม่ได้แต้มในเกมนั้นเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกทางซ้ายมือ เมื่อแต้มเป็นเลขคี่
             5.1  ผู้เล่นที่เป็นผู้รับลูกในตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม จะรับลูกหรือส่งลูกในสนามส่งลูกทางขวามือ เมื่อผู้                เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้แต้มหรือ แต้มเป็นเลขคู่ และในสนามส่งลูกทางซ้ายมือเมื่อแต้มเป็นเลขคี่
             5.2  คู่ขาของผู้เล่นต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันในทางตรงข้าม
       6.  การส่งลูกทุกครั้ง จะต้องส่งจากสนามส่งลูกทแยงมุมตรงข้าม ยกเว้นตามที่ได้ระบุไว้ในกติกาข้อ 14,16
      7.  สิทธิ์การส่งลูกผ่านติดต่อกันจากผู้ส่งคนแรกของแต่ละเกมไปยังผู้รับลูกคนแรกในเกมนั้น และจากผู้เล่น                คนยั้ยไปยังคู่ขาและแล้วต่อไปยังผู้เล่นคนหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม
      8.  ห้ามมิให้ผู้เล่นส่งลูกหรือรับลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่งและผู้รับ
     9.  ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของฝ่ายชนะจะเป็นผู้ส่งลฤูกด่อนก็ได้และผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของฝ่ายแพ้จะเป็นผู้รับ              ก็ได้
UploadImage

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น